วันพฤหัสบดีที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2555

หนังสั้น "ทางเลือก" ตอนที่1

หนังสั้น "ทางเลือก" ตอนที่2

หนังสั้น "ทางเลือก" ตอนที่3

ประชาคมอาเซียน

ประชาคมอาเซียน 2558


ASEAN Community คืออะไร
อาเซียน (ASEAN) ประกอบด้วย 10 ประเทศ ได้แก่ ไทย (2510) สิงคโปร์ (2510) อินโดเนเซีย (2510) มาเลเซีย (2510) ฟิลิปปินส์ (2510) บรูไน (2527) เวียตนาม (2538)  ลาว (2540) พม่า (2540)  กัพูชา (2542) มีประชากรรวมกันประมาณ 570 ล้านคน มีขนาดเศษฐกิจที่โตมาก เมื่อเดือนตุลาคม 2546 ผู้นำอาเซียนได้ร่วมลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมืออาเซียน ที่เรียกว่า ข้อตกลงบาหลี 2 เห็นชอบให้จัดตั้ง ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) คือการให้อาเซียนรวมตัวเป็นชุมชนหรือประชาคมเดียวกันให้สำเร็จภายในปี พ.ศ. 2563 (ค.ศ. 2020) แต่ต่อมาได้ตกลงร่นระยะเวลาจัดตั้งให้เสร็จในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) เนื่องจากการแข่งขันรุนแรง เช่น อัตราการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจของจีนและอินเดียสูงมากในช่วงที่ผ่านมา  ในการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 14 ที่ชะอำ หัวหิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2552 ผู้นำอาเซียนได้ลงนามรับรองปฏิญญาชะอำ หัวหิน ว่าด้วยแผนงานจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ค.ศ. 2009-2015) เพื่อจัดตั้งประชาคมอาเซียนภายในปี 2558
ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยเสาหลัก 3 เสา
1.ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน  (ASEAN Security Community – ASC) มุ่งให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติ มีระบบแก้ไขความขัดแย้ง ระหว่างกันได้ด้วยดี มีเสถียรภาพอย่างรอบด้าน มีกรอบความร่วมมือเพื่อรับมือกับภัยคุกคามความมั่นคงทั้งรูปแบบเดิมและรูปแบบใหม่ๆ เพื่อให้ประชาชนมีความปลอดภัยและมั่นคง
  2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) มุ่งให้เกิดการรวมตัวกันทางเศรษฐกิจ และการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ภูมิภาคมีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดีกินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน โดย
          (ก)มุ่งให้เกิดการไหลเวียนอย่างเสรีของ สินค้า บริการ การลงทุน เงินทุน การพัฒนาทางเศรษฐกิจ และการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางสังคมภายในปี 2020
         (ข)ทําให้อาเซียนเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base)
          (ค)ให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศสมาชิกใหม่ของอาเซียนเพื่อลดช่องว่างการพัฒนาและช่วยให้ประเทศเหล่านี้เข้าร่วมกระบวนการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
          (ง)ส่งเสริมความร่วมมือในนโยบายการเงินและเศรษฐกิจมหภาคตลาดการเงินและตลาดทุน การปะกันภัยและภาษีอากร การพัฒนาโครงสร้างพิ้นฐานและการคมนาคม พัฒนาความร่วมมือด้านกฎหมาย การเกษตร พลังงาน การท่องเที่ยว การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์โดยการยกระดับการศึกษาและการพัฒนาฝีมือแรงงาน
     กลุ่มสินค้าและบริการนำร่องที่สำคัญ ที่จะเกิดการรวมกลุ่มกัน คือ สินค้าเกษตร / สินค้าประมง / ผลิตภัณฑ์ไม้ / ผลิตภัณฑ์ยาง / สิ่งทอ / ยานยนต์ /อิเล็กทรอนิกส์ / เทคโนโลยีสารสนเทศ (e-ASEAN) / การบริการด้านสุขภาพ, ท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน) กำหนดให้ปี พ.ศ. 2558 เป็นปีที่เริ่มรวมตัวกันอย่างเป็นทางการ โดยผ่อนปรนให้กับประเทศ ลาว กัมพูชา พม่า และเวียตนาม
      ประเทศไทยได้รับมอบหมายให้ทำ Roadmap ทางด้านท่องเที่ยวและการขนส่งทางอากาศ (การบิน)
  3.ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC) เพื่อให้ประชาชนแต่ละประเทศอาเซียนอยู่ร่วมกันภายใต้แนวคิดสังคมที่เอื้ออาทร มีสวัสดิการทางสังคมที่ดี และมีความมั่นคงทางสังคม

วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

วิกฤตการณ์น้ำท่วม


วิกฤตการณ์น้ำท่วมลำปาง

         วิกฤตการณ์น้ำท่วมลำปาง เหตุการณ์อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่นี้ ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในรอบ 40 ปี เหตุการณ์เริ่มเกิดขึ้นที่อำเภอเมืองปานเมื่อเวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 27 กันยายน 2548 และได้เริ่มท่วมที่อำเภอเมืองปาน อำเภอแจ้ห่ม อำเภอเมือง รวมเวลาทั้งสิ้นประมาณ 4 วัน


         เหตุการณ์อุทกภัยครั้งยิ่งใหญ่นี้มีต้นเหตุมาจากพายุที่มีชื่อว่า “ ดอมเรย ”
DOMRAY (ดอมเรย) เป็นภาษาเขมร อ่านว่า ดอม – เรย ไม่ใช่ ดอม - เร พายุดอมเรยสร้างความเสียหายให้กับภาคเหนืออย่างหนัก หลายจังหวัดที่ได้รับอิทธิพลและความเสียหายเป็นอันดับต้นๆของภาคเหนือก็ได้แก่ลำปาง
          สรุปความเสียหายในการเกิดอุทกภัยที่ลำปางได้รับความเสียหายทั้งหมด 9 อำเภอ 38 ตำบล ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตของประชาชน ทรัพย์สินของมีค่ามากมาย ถนนหลายสิบเส้นทางขาด สะพานหลายสะพานผ่านไม่ได้ หมู่บ้านหลายหมู่บ้านถูกตัดขาด สัตว์เลี้ยงต่างๆ เช่น วัว ควาย หมู เป็ด ไก่ ตายกันเป็นระนาว
สะพานรัษฎาหลังน้ำได้ลดลงบ้างแล้ว



         ในเขตเทศบาลตำบลแจ้ห่มประชาชนคนแจ้ห่ม ตลาด ร้านค้าต่างๆขนของหนีน้ำไม่ทันได้รับความเสียหายเป็นอย่างมากเพราะไม่มีใครได้ทันเตรียมตัว น้ำมาเร็วมาก เก็บของอะไรได้ก็นำติดตัวเท่าที่ทำได้เพราะต้องรักษาชีวิตเอาไว้หนีขึ้นไปอยู่ชั้นสองบ้าง บ้านของใครที่เป็นบ้านชั้นเดียวต้องหาทางหนีขึ้นบนหลังคา ในเวลาไม่ถึง 2 ชั่วโมงบ้านเรือน สถานที่สำคัญต่างๆก็จมอยู่ในน้ำที่มีแต่โคลน สีของน้ำเหมือนกับสีของโอวัลตินหรือสีของโกโก้
         ในเขตเทศบาลนครลำปางมีการประกาศเตือนให้อพยพผู้คนออกจากพื้นที่ลุ่มริมน้ำวังและประกาศเตือนให้เก็บสิ่งของและทรัพย์สินหนีน้ำ แต่ประชาชนบางคนก็ยังเฉยและคาดว่าน้ำท่วมไม่ถึง แต่สุดท้ายแล้วก็ต้องสูญเสียข้าวของเครื่องใช้มากมาย
         น้ำท่วมลำปางเมืองลำปางเป็นสิ่งที่หลายคนไม่เคยคิดว่าจะเกิดขึ้น หลายครั้งผ่านมาเป็นตัวยืนยันว่าคงท่วมแถวเดิมๆและท่วมนิดหน่อยเท่านั้นคงจะเหมือนๆที่เคยท่วมมาแล้ว
สภาพความแรงของน้ำและรถยนต์ที่จมอยู่ในน้ำ



      สิ่งที่เกิดขึ้นในครั้งนี้คงแสดงให้คนลำปางเห็นแล้วว่านี้คือเหตุการณ์ปัจจุบันที่ได้แตกต่างจากอดีต สภาพของลำปางได้เปลี่ยนไปมาก เช่นที่อำเภอแจ้ห่มถ้าทุกคนไปเห็นสภาพหลังจากน้ำท่วม 1 สัปดาห์แรก ดูเขตเทศบาลตำบลแจ้ห่มเหมือนสภาพ 30 ปีที่แล้วถนนหนทาง บ้านเรือนสถานที่สำคัญต่างๆ มีแต่ซากของต้นไม้ที่หักโค่น ขยะ โคลน มีฝุ่นละอองคละคลุ้ง ดูแล้วไม่เห็นความเจริญเลย และไม่ใช่ความเปลี่ยนแปลงจะเกิดที่ลำปางเท่านั้นโลกทั้งโลกก็ได้เปลี่ยนไปแล้วเช่นกัน เพราะเกิดเหตุการณ์ต่างๆมากมาย เช่น พายุ แผ่นดินไหว ภัยแล้ง ทุกๆเหตุการณ์เกิดขึ้นบ่อยครั้งและรุนแรงมากยิ่งขึ้น
      ฝนที่ตกตามที่เกิดพายุดอมเรย ดูเหมือนว่าฝนจะตกไม่มากแต่ด้วยป่าและผิวดินไม่เหลือความสมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถดูดซับน้ำได้เหมือนอย่างในอดีต สิ่งที่ทำได้ในวันนี้ก็คือ การมุ่งหน้าแก้ไขและหาทางป้องกันปัญหาในอนาคต ประชาชนคนลำปางหรือทุกๆคนที่อยู่บนโลกใบนี้ต้องหันไปให้ความสำคัญกับสภาพแวดล้อมที่มีชีวิต เพราะต้นไม้และชีวิตอื่นที่อยู่ในดินป็นสิ่งที่สำคัญและเป็นตัวขับเคลื่อนที่สำคัญของความสมดุลในธรรมชาติ จากเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งนี้ทำให้เราได้เรียนรู้ว่าชีวิตย่อมต้องการสิ่งที่มีชีวิต มนุษย์เราจะอยู่ได้อย่างไรถ้าไม่มีต้นไม้ ป่าไม้และสิ่งมีชีวิตอื่นๆ
สภาพบ้านเรือนของประชาชนบริเวณริมน้ำวัง